ความสัมพันธ์ของไก่และแสง

ก้าวสู่ยุคใหม่ของระบบแสงสว่าง สำหรับงานฟาร์มและงานเกษตรกรรมจากงานวิจัยและพัฒนา ทำให้สามารถเข้าใจธรรมชาติและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แสงมีผลต่อการ เลี้ยงไก่อย่างไร

– ประหยัดพลังงาน

– อัตราการตาย

– น้ำหนัก หรือปริมาณการผลิตไข่

– การกระตุ้นฮอร์โมนตามธรรมชาติ

– แสงที่ไม่ให้ความร้อน

– คลื่นแสง

– ชั่วโมงแสง

– การได้รับแสงอาทิตย์

– การกระพริบของไฟ

– การกระจายของแสงไฟ

จากข้อมูลการใช้งาน เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟของ ENM Lighting
ประหยัดมากกว่า 80% เมื่อเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์

การกระพริบที่มองไม่เห็น

ตาของไก่มีความไว้แสงกว่ามนุษย์มากกว่า 3 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหามาจาก หลอดไฟกระแสสลับ 220VAC ที่สามารถหรี่แสงได้ แต๋ ENM Lighting ใช้หลอดไฟกระแสตรง 48VDC ซึ่งไม่เกิดการกระพริบ

การทำหนังหรือภาพยนตร์เคลื่อนไหว ต้องทำให้มีภาพเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 18-20 ภาพต่อวินาที นั่นคือสามารถทำให้มนุษย์ไม่สามารถเห็นภาพเคลื่อนไหวของเฟรมที่ผ่านไปซึ่งความสามารถนี้ในตาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่สามารถรับรู้ความถี่ที่สูงกว่านี้ได้(ความถี่ครั้งต่อวินาที = Hz(Hertz))แต่ตาของสัตว์ปีกสามารถ รับรู้ความถี่ได้ถึง 140Hz ซึ่งเป็นคุณสมบัติตามธรรมชาติในการมองเห็นเพื่อหาอาหารได้ไวและแม่นยำ ทำให้สัตว์ปีกโดยเฉพาะไก่จึงรับรู้ของการกระพริบที่เรามองไม่เห็น Flickering หรือการกระพริบ ทำให้เกิด การเปลี่นแปลงครั้งใหญ่กับหลอดไฟที่ใช้สำหรับปศุสัตว์ของสัตว์ปีก ซึ่งสังเกตได้จากผู้ผลิตหลอดไฟชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นทางอเมริกาหรือยุโรป ล้วนเปลี่ยนมาผลิตแนวทาง Flicker free ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ การกระพริบของแสงเกิดจากระดับความสว่างซึ่งเป็นส่วนที่มาจากส่วนสร้างแสงสว่าง(Light-Emitting Component)จากพวกหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอด LED Semiconductor ที่ใช้ไฟกระแสสลับ (ก็คือไฟบ้าน 220v) ถ้าเราอยู่ในสภาพแสงที่กระพริบตลอดก็สามารถสร้างความเครียดให้เราได้เช่นกัน ซึ่งการกระพริบนี้มีผลอย่างมากทำให้เกิดความเครียดเช่นกันซึ่งอาการตอบสนองเช่น การผลิตไข่ที่ต่ำลง การกินอาหารน้อยลง

หลอดไฟทั่วไปที่ใช่สำหรับงานแสงสว่างปกติไม่ได้ออกแบบจำนวนคลื่นแสงให้ครอบคลุมต่อทุกความยาว คลื่นที่สัตว์ปีกต้องใช้งาน และด้วยการออกแบบใหม่ ทำให้ค่าของแสง ที่ออกมาครอบคลุม และใกล้เคียงแสงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดภาวะจำลอง ของธรรมชาติในการกระตุ้นฮอร์โมนจากแสงแดด