การให้แสงของไก่ไข่

การให้แสงสว่าง

สำหรับลูกไก่ 1-14 วันควรให้แสงสว่างที่มีความเข้ม สูงประกอบกับชั่วโมงแสง 22 ชั่วโมง ช่วยกระตุ้นให้ลูกไก่ได้รับอาหารมากที่สุด เพื่อการเจริญเติบโตสูงสุด หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ปรับลดความเข้มแสงลงมาตามลำดับ

ในการออกแบบการให้แสงสว่างที่ดี ควรจะสอดคล้องกับปัจจัยและรูปแบบของโรงเรือน ดังต่อไปนี้

1.รูปแบบโรงเรือน
2.แหล่งระบายมูลไก่

การกระตุ้นแสงในสัปดาห์แรก

จุดประสงค์ เพื่อช่วยให้ไก่สามารถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมใหม่และสามารถกินน้ำอาหารได้เป็นปกติโดยเร็วในช่วง 1-4 วันแรก ควรให้แสงความเข้มสูง (20-40 ลักซ์) เป็นเวลา 12 ชั่วโมงในตอนกลางวัน (สำหรับโรงเรือนมืด) และเพิ่มแสงพิเศษในตอนกลางคืนอีก 8-10 ชั่วโมง จากนั้นจึงค่อยๆลดชั่วโมงแสงพิเศษลงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง (23.00-1.00)แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าไก่ทั้ง ฝูงสามารถกินน้ำกินอาหารได้เป็นปกติแล้ว

การกระตุ้นแสงเมื่อไก่เริ่มให้ผลผลิต
จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการสร้างไข่ และกระตุ้นการกินอาหาร เริ่มกระตุ้นแสงสว่างต่อเมื่อไก่ฝูงนั้นมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ข้อดังนี้

1. เมื่อไก่เริ่มให้ผลผลิตไข่มากกว่า 20% ซึ่งแสดงว่าไก่ส่วนใหญ่ของฝูงมีความเจริญพันธ์สูงพร้อมที่จะให้ผลผลิตแล้ว
2. เมื่อไก่มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 1550 กรัมต่อตัว เนื่องจากไก่ที่มีนำ้หนักสูงเมื่อเริ่มไข่ จะให้ไข่ฟองใหญ่กว่า และให้ผลผลิตยืนนานกว่าไก่ที่มีน้ำหนักตัวต่ำอีกทั้งมีปัญหาก้นทะลักน้อยกว่า

ถ้าไก่เริ่มให้ผลผลิตไข่มากกว่า 20% แต่นำ้หนักเฉลี่ยต่ำกว่า 1550 กรัมต่อตัว ก็ยังไม่จำเป็นต้องกระตุ้นแสง ในทางกลับกันถ้าน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 1550 กรัมต่อตัว แต่ ผลผลิตไข่ต่ำกว่า 20% ก็ยังไม่จำเป็นต้องกระตุ้นแสงเช่นกัน ต้องรอทั้งผลผลิต และน้ำหนักตัวได้ตามเกณฑ์ ทั้งคู่จึงเริ่มกระตุ้นแสง ซึ่งดดยทั่วไปฝูงไก่จะมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ข้อ ต่อเมื่อ ไก่มีอายุประมาณ 19-20 สัปดาห์

การกระตุ้นแสงในช่วงนี้นอกจากจะมีผลต่อการสร้างไข่แล้วยังเป็นการเพิ่มเวลาการกินอาหารของไก่ด้วย ส่งผลให้ไก่ได้รับอาหารในปริมาณที่มากพอสำหรับการผลิตไข่ และใช้ในการเจริญเติบโต แม้ว่าไก่จะให้ผลผลิตไข่แล้วก็ตาม แต่ร่างกายก็ยังมีการเเจริญเติบดตต่อไปจนกระทั่งโตเต็มวัย ที่อายุประมาณ 25 สัปดาห์ คือมีน้ำหนักเฉลี่ยอย่างน้อย 1850 กรัมต่อตัว ซึ่งหมายความว่าในช่วง 6 สัปดาห์แรก ของการไข่นั้น จำเป็นต้องกระตุ้นการกินอาหารเพื่อให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 300 กรัม

การเพิ่มชั่วโมงแสง จะต้องปรับเพิมขึ้น
ตามผลผลิตทีเพิ่มขึ้น แต่ไม่ควรเกิน 16 ช่วโมง (ไม่ควรลดชั่วโมงแสงตลอดอายุการเลี้ยงเนืองจากกระทบต่อผลผลิต)ส่วนแสงพิเศษในตอนกลางดึกอีก 2 ชั่วโมงก็ยังคงไว้ตามเดิม เมื่อไก่โตเต็มวัยหรือมีนำ้หนักเฉลี่ยได้ตามเป้าหมายคือ 1,850 กรัมแล้ว ก็สามารถยกเลิกแสงพิเศษนี้ได้ หรืออาจคงไว้ตามเดิมเพื่อเพิ่มการกระตุ้นการกินอาหารก็ได้ หรือจะนำแสงพิเศษกลับมาใช้อีกเมื่อไก่มีอายุมากเพื่อเพิ่มคุณภาพของเปลือกไข่ก็ได้

ส่วนความเข้มแสงนั้นแนะนำให้ใช้แสงความเข้มสูง (ประมาณ 20 ลักซ์) ตั้งแต่เริ่มย้ายไก่ขึ้นกรง จนกระทั่งไก่มีน้ำหนักเฉลี่ย 1,850 กรัม จากนั้นจึงทยอยเปลี่ยนเป็นแสงสีแดงความเข้มต่ำ (ประมาณ 1-5 ลักซ์ วัดที่รางอาหารโดยให้จุดที่มืดที่สุดมีความเข้มประมาณ 1 ลักซ์) การใช้แสงสีแดงความเข้มต่ำนั้นแสงสีดงมีผลช่วยกระตุ้นการสร้างไข่ ส่วนความเข้มต่ำนั้นทำให้ไก่ไม่เครียด ลดการจิกกัน ส่งผลให้อัตราการตายลดลง

หลอดไฟทั่วไปที่ใช่สำหรับงานแสงสว่างปกติไม่ได้ออกแบบจำนวนคลื่นแสงให้ครอบคลุมต่อทุกความยาว คลื่นที่สัตว์ปีกต้องใช้งาน และด้วยการออกแบบใหม่ ทำให้ค่าของแสง ที่ออกมาครอบคลุม และใกล้เคียงแสงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดภาวะจำลอง ของธรรมชาติในการกระตุ้นฮอร์โมนจากแสงแดด

Reference การเลี้ยงไก่ไข่ ซีพีบราวน์